การขนส่งสินค้าด้วยระบบตู้ Container ทางเรือ เป็นรูปแบบการขนส่งอีกแบบหนึ่งที่ได้มาตรฐาน และสามารถขนของได้คราวล่ะจำนวนมาก ในราคาต่ำกว่าการขนส่งทางอื่น
วิธีการคิดค่าระวางเรือ
ในปัจจุบันนี้ การขนส่งสินค้าส่วนมากซึ่งใช้การขนส่งทางทะเล จะเป็นการเรียกใช้บริการเรือ Container Ship เพราะฉะนั้นผู้ใช้บริการ จึงควรทำความเข้าใจในเรื่องลักษณะรวมทั้งประเภทของ Container โดยจะเป็นแบบ Durable Packing ซึ่งเป็นลักษณะตู้ที่ทำด้วยเหล็ก , อลูมิเนียม มีขนาดมาตรฐาน คือ 20 ฟุต และ 40 ฟุต
ทั้งนี้บริษัทขนส่ง จะเป็นผู้จัดหาตู้ Container ให้ คุณต้องทำการจองตู้ล่วงหน้า ผ่านเอกสาร Shipping Particular เรียกกันสั้นๆง่ายๆว่าใบ Booking นั่นเอง ทั้งนี้รายละเอียดที่จะกรอกเข้าไป จะต้องมีความสอดคล้องกับ Letter of Credit (L/C) ด้วย
ส่วนเอกสารที่ใช้เป็นใบรับสินค้า จะเรียกว่า Bill of Lading (B/L) หรือใบตราส่ง โดยเป็นเอกสารที่มีความสำคัญมาก ใช้ในการส่งเอกสาร ตอนการเรียกเก็บเงินจากทางธนาคาร
ในการซื้อ – ขายสินค้า ระหว่างประเทศคู่ค้า ต้องมีการตกลงกันว่า ผู้ซื้อหรือผู้ขายสินค้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะต้องเป็นคนจ่ายค่าระวาง ถ้าผู้ขายสินค้ารับหน้าที่เป็นคนชำระ เรียกว่า Freight Prepaid แต่ถ้าให้ผู้ซื้อเป็นผู้ชำระตอนสินค้าถึงปลายทาง เรียกว่า Freight Correct
การคิดค่าระวางเรือ (Freight Charge Basic)
LCL คือ นายหน้า จะเป็นผู้ทำการซื้อค่าระวางเรือในราคาส่งแล้วนำมาขายเราต่อ โดยตู้มี 2 ขนาดได้แก่ 20 ฟุต กับ 40 ฟุต แล้วนำมาแบ่งขายปลีก คือราคาต่อ ลูกบาศก์เมตร , ตามขนาดของสินค้า , กว้าง x ยาว x สูง , คิดน้ำหนักต่อตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม
ทั้งนี้การคำนวณน้ำหนักปริมาตร ให้กลายเป็นลูกบาศก์เมตร ส่วนใหญ่มักจะใช้กับสินค้าที่มีลักษณะเป็น Size Insentive เช่น เสื้อผ้า เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีการชั่งน้ำหนัก โดยทำการเปรียบเทียบว่า ถ้าน้ำหนักปริมาตรสูงกว่า ก็คิดค่าระวางจากน้ำหนักนั่นเอง
- ส่วนวิธีการคำนวณจากปริมาตรของสินค้า ให้วัดขนาดของสินค้า กว้าง x ยาว x สูง และคำนวณออกมาเป็น ลูกบาศก์เมตร M3 หรือ CBM
- ยกตัวอย่าง เช่น การคำนวณน้ำหนักปริมาตร จากสูตรข้างบนก็นำมาแทนค่าลงไป กว้าง 150 ซม. x ยาว 200 ซม. x สูง 100 ซม. จะได้เท่ากับ 1,000,000 = 3 CBM ต่อมาจึงนำมาเทียบกับน้ำหนักที่ชั่งมาแล้ว โดยให้น้ำหนักปริมาตรมากกว่า แล้วนำมาคูณกับค่าระวางเรือ USD 10 เท่ากับได้ค่าระวางทั้งหมด USD 30
นอกจากนี้ วิธีการคำนวณจำนวนแบบ CBM ยังนำมาใช้คำนวณ จำนวนสินค้าที่จะสามารถบรรจุได้ใน 1 ตู้ ได้อีกด้วย ยกตัวอย่าง เช่น ตู้ Container ขนาด 20 ฟุตทั่วไป สามารถบรรจุของได้ไม่เกิน 28 CBM และ ตู้ Container ขนาด 40 ฟุต บรรจุได้ประมาณ 55-58 CBM