ปี 2561 รายจ่ายของมนุษย์ในเมืองกรุงจะเพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะในเรื่องของค่าใช้จ่ายจากการเดินทาง โดยเน้นระบบสาธารณะ เริ่มจาก ประกาศและกฎกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันทีในวันที่ 1 มกราคม 2561 ได้แก่
ข้อกำหนดค่าโดยสารสำหรับรถแท็กซี่ จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร ค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร จะถูกกำหนดโดยจากเกณฑ์ระยะทางของ 2 กิโลเมตรแรก เก็บค่าโดยสารไม่เกิน 50 บาท และกิโลเมตรถัดไป เก็บค่าโดยสารกิโลเมตรละไม่เกิน 12 บาท ในกรณีรถติดไม่สามารถเคลื่อนที่ตามปกติวิสัย ให้เก็บค่าโดยสารนาทีละไม่เกิน 3 บาท
ส่วนค่าบริการอื่นๆ เช่น กรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีการกำหนดไม่เกิน 50 บาท กรณีจ้างมาจากท่าอากาศยาน หรือสถานที่ประกาศกำหนด โดยรถยนต์รับจ้างนั้นจอดรถเพื่อรอผู้โดยสารอยู่ในสถานที่ดังกล่าว คือ ไม่เกินหนึ่ง 100 บาท
ส่วนรถยนต์รับจ้าง จดทะเบียนในต่างจังหวัด กำหนดค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร ให้ถือเกณฑ์ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก คือไม่เกิน 100 บาท และกิโลเมตรถัดไป กิโลเมตรละไม่เกิน 120 ในกรณีรถติดไม่สามารถเคลื่อนที่ตามปกติวิสัยคิดอัตรานาทีละไม่เกิน 5 บาท ส่วนค่าบริการอื่นๆ ให้กำหนดต่อไปนี้ กรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดไม่เกิน 50 บาท กรณีจ้างจากท่าอากาศยานหรือสถานที่กำหนด โดยรถยนต์รับจ้างนั้นจอดรถรอผู้โดยสารอยู่ในสถานที่ดังกล่าว คือไม่เกิน 150 บาท กรณีการจ้างในเวลากลางคืนไม่เกิน 100 บาท
อีกทั้งกรุงเทพมหานครยังอยู่ระหว่าง การศึกษาปรับโครงสร้างราคาของ BTS ส่วนต่อขยายใหม่ ส่วนของสายสุขุมวิท เพราะจากหลังจากเดือน ธันวาคม 61 กทม.จะเปิดส่วนต่อขยายสายสีเขียวจากแบริ่งไปจรดสมุทรปราการ เป็นระยะทาง 12.8 กม. จำนวน 9 สถานี ซึ่งได้รับโอนโครงการมาจาก รฟม. ส่งผลให้ต้องคิดอัตราโครงสร้างค่าโดยสารของ BTS เสียใหม่ ส่วนทางยกระดับดอนเมือง ตามสัญญาคือจะมีการปรับทุกๆ 5 ปี ตาม CPI ซึ่งจะครบกำหนดการในวันที่ 22 ธันวาคม 62
อีกทั้ง รมว.คมนาคม ได้สั่งการให้กรมการบินพลเรือน ไปดำเนินการสั่งให้แต่ละสายการบิน ทบทวนความเหมาะสมของการปรับขึ้นราคาค่าโดยสาร ภายหลังจากคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบตามกระทรวงการคลังเสนอมาว่าควรปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน อันมีเหตุผลมาจากต้นทุนเพิ่มขึ้นในบางสายการบินนั้น ไม่อาจสะท้อนต้นทุนแท้จริง จนส่งผลให้ประชาชนแบกรับภาระเหล่านี้มากเกินไป
ส่วนค่ารถโดยสารประจำทาง เมื่อในปี 58 มีการปรับไปแล้ว 1 บาท โดยรถธรรมดา มีค่าบริการเพิ่มจาก 8 บาท เป็น 9 บาท ส่วนรถปรับอากาศจาก 11-23 บาท เป็น 12-24 บาท แต่อีกเรื่องหนึ่งซึ่งยังไม่แน่นอน คือ ปี 2561 กรมการขนส่งคมนาคม จะให้รถตู้โดยสารขึ้นราคาหรือไม่ เนื่องจากปีที่ผ่านมามีการปรับเบาะให้เหลือแค่ 13 เบาะเท่านั้น โดยทั้งหมดนี้ เป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับคนไทยโดยเฉพาะผู้ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร