Domestic-Transportation

Logistics เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการวางแผน , ดำเนินงาน รวมทั้งการควบคุมงานขนย้าย , การรวบรวม , กระจายสินค้า , บริการ จากต้นทางไปยังปลายทางให้เกิดความลุล่วงตามความต้องการของลูกค้า Logistics แบ่งออกเป็นการขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เป็นการส่งสินค้าไปในประเทศเดียวกัน สามารถแบ่งวิธีการขนส่งออกได้ ดังนี้

การขนส่งทางบก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • รถกระบะ , รถบรรทุก ,มอเตอร์ไซค์ จัดเป็นหัวใจของการขนส่งทางบก ซึ่งในปัจจุบันถนนหนทางต่างๆมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น มีถนนเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดต่างๆได้อย่างทั่วถึง เป็นการขนส่งสินค้าที่สะดวกรวดเร็วสามารถส่งสินค้าไปถึงผู้รับได้โดยตรง
  • รถไฟ เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าหนัก มีระยะทางไกล มีข้อดีคือค่าบริการที่ไม่สูง และมีการกำหนดระยะเวลาอย่างแน่นอน รวมทั้งมีความปลอดภัยสูง

การขนส่งทางน้ำ

เป็นวิธีการขนส่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยใช้แม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางหลักทั้งการขนส่งสินค้า และเดินทาง เหมาะสมกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ขนส่งได้ในปริมาณมาก มีค่าบริการต่ำ

Domestic-Transportation-pic

การขนส่งทางอากาศ

เป็นวิธีอันรวดเร็วมากที่สุด แต่ก็มีค่าใช้จ่ายก็แพงมากที่สุด เหมาะกับการขนส่งสินค้าประเภทที่แตกหักง่าย เช่น ผัก-ผลไม้ , เครื่องประดับ เป็นต้น ไม่เหมาะกับสินค้าขนาดใหญ่ หรือมีน้ำหนักมาก เพราะค่าบริการจะสูงมาก อีกทั้งยังส่งไปได้เฉพาะจังหวัดที่มีท่าอากาศยานเท่านั้น

 การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ Logistics ที่ทางภาครัฐให้การสนับสนุนเพื่อให้เอกชนสามารถบริหารจัดการสินค้า ทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการ ส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันสำหรับการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย

รูปแบบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

  • เรือ เหมาะกับการขนส่งครั้งละจำนวนมาก , ระยะทางไกล , งบประมาณต่ำ , ไม่รีบในการใช้ เช่นสินค้าวัตถุดิบ , ส่วนประกอบ , เครื่องจักร  ปัจจุบันนิยมส่งด้วยระบบ Container
  • เครื่องบิน เหมาะสมกับการสินค้าต้องการความเร่งด่วน , ปริมาณน้อย , มีงบประมาณสูง สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ดี เช่น อะไหล่เครื่องจักร , สินค้าแฟชั่น , ผัก – ผลไม้ เป็นต้น
  • รถบรรทุก เหมาะกับการขนส่งสินค้าไปยังประเทศใกล้เคียง มีระยะทาง

สั้น สามารถส่งมอบอย่างรวดเร็ว เช่น สินค้าอุปโภค – บริโภค ส่งจากประเทศไทย ไปยังประเทศพม่า , ลาว , กัมพูชา , มาเลเซีย เป็นต้น

  • รถไฟ เหมาะกับการขนส่งในประเทศใกล้เคียง , มีระยะทางสั้น , ต้นทุนต่ำ โดยขบวนการรถไฟระหว่างประเทศ  ส่วนใหญ่ใช้สำหรับขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก
  • ท่อ เหมาะกับการขนส่งไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น น้ำมัน หรือแก๊ส เป็นต้น

ไปรษณีย์  เหมาะกับสินค้าขนาดเล็ก มีความสะดวกรับสินค้าได้ทันที มีค่าบริการให้เลือกหลายแบบ