High-speed

ไร้รอยต่อโครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นโครงการใหม่ล้ำหน้าที่ใช้โครงสร้างที่มีอยู่แล้วของ Airport Rail Link ซึ่งเปิดให้บริการอยู่ ณ ปัจจุบัน แต่ก็มีการก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร เพิ่มส่วนต่อขยาย 2 แห่ง จากสถานีพญาไท ไปสุดสนามบินดอนเมือง กับ สถานีลาดกระบัง ไปสุดสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเปิดทางเข้า – ออกสนามบิน จากการใช้ทางเดิมของ Airport Rail Link เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทั้งหมดทาง 220 กม. ซึ่งรถไฟความเร็วสูงนี้มีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ ของสถานีสุวรรณภูมิ ถึง สถานีอู่ตะเภา มีความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง จากสถานีดอนเมือง ถึง สถานีสุวรรณภูมิ ประกอบไปด้วยทางขึ้น – ลง 9 แห่ง ได้แก่ ดอนเมือง , บางซื่อ , มักกะสัน , สุวรรณภูมิ , ฉะเชิงเทรา , ชลบุรี , ศรีราชา , พัทยา และอู่ตะเภา

โครงสร้างทางวิ่ง ประกอบด้วย ทางวิ่งโครงการรถไฟฟ้า Airport Rail Link ปัจจุบัน เป็นระยะทาง 29 กิโลเมตร และทางวิ่งที่ต้องสร้างใหม่ 191 กิโลเมตร ในเบื้องต้นได้มีการจำแนกรูปแบบโครงสร้างออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • ทางวิ่งยกระดับ 181 กิโลเมตร
  • ทางวิ่งระดับดิน 2 กิโลเมตร
  • ทางวิ่งใต้ดิน 8 กิโลเมตร

การพัฒนาในครั้งนี้ เป็นการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อ 3 สนามบินเพื่ออำนวยความสะดวกอย่างสูงสุด ในการสนับสนุนทั้งบริการรถไฟพร้อมบริการผู้โดยสารอย่างขีดสุดความสามารถ อีกทั้งพื้นที่โดยรอบของสถานีศรีราชา 25 ไร่ ก็สามารถนำมาสร้างรายได้ในเชิงพาณิชย์ร่วมกับโครงการ็รูได้ทันที

High-speed-train

วัตถุประสงค์หลักของโครงการ

โครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นพื้นฐานหลัก ที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของฝั่งตะวันออก โดยทำให้การเดินทางรวมทั้งการขนส่งระหว่างจังหวัด ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกรวมทั้งภูมิภาคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีความสะดวกรวดเร็วกว่าในอดีต ตลอดจนสามารถลดระยะเวลา , ต้นทุน ในการเดินทางของการทำธุรกิจ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการเดินทางรูปแบบอื่นๆ

โครงการนี้เชื่อมต่อถึง 3 ท่าอากาศยาน ในเขตกรุงเทพมหานครและเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง , ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ , ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ส่งผลให้ผู้โดยสารทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสามารถเดินทางระหว่างท่าอากาศยานไปสู่เขตตัวเมือง หรือเขตธุรกิจได้อย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็ว ยกระดับความเจริญให้แก่ประเทศมากขึ้น

โดยการพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มบริการรถไฟ บริเวณสถานีรถไฟฟ้า Airport Rail Link มักกะสัน ให้เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานาคร กับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก รวมทั้งพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา ได้ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมพร้อมลดอุบัติเหตุบนท้องถนน อีกทั้งยังเป็นการเดินทางแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะในอากาศ มีระบบควบคุมซึ่งมีความปลอดภัยสูงสุด จึงมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุต่ำมาก