U-Tapao-Airport

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก EEC อนุญาตให้เอกชนเข้าร่วมทุนเพื่อการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา โดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองแห่งการบินทางภาคตะวันออก เป็นโครงการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน เพื่อปรับปรุงสนามบินรวมทั้งสร้างกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง อันประกอบด้วย การสร้างความเป็นมืออาชีพในการให้บริการพร้อมการบำรุงรักษาของอาคารผู้โดยสาร Terminal 3 , ศูนย์ธุรกิจการค้า , ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและ logistics , ระยะ 2 ของธุรกิจซ่อมเครื่องบิน , ระยะ 2 ของศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน , ระยะ 2 ของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน ทั้งนี้ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.บ้านฉาง จังหวัดระยอง มีอาณาเขตโดยรอบประมาณ 6,500 ไร่

สภาพแวดล้อม ณ ปัจจุบัน

โดยปัจจุบันนี้ สนามบินอู่ตะเภา มีทางวิ่งทั้งหมด 1 ทางวิ่ง เป็นขนาดมาตรฐานยาว 3,500 เมตร , กว้าง 60 เมตร , มี 52 หลุมจอด โดยถ้าใช้ทางวิ่งนี้อย่างเต็มศักยภาพ จะสามารถรองรับปริมาณของผู้โดยสารได้ 20 ล้านคน/ปี อาคารผู้โดยสารหลัง 1 สามารถรองรับผู้โดยสาร 700,000 คน/ปี ภายหลังจากอาคารผู้โดยสารหลัง 2 เปิดให้บริการก็จะเป็นการยกระดับความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ถึง 3 ล้านคน/ปี

U-TapaoAirport

แผนการพัฒนาในระยะเร่งด่วน ประกอบด้วย ปรับปรุงพื้นที่ให้บริการในปัจจุบัน ซึ่งทางภาครัฐจะมีการลงทุนทำการก่อสร้างเพิ่มเติม อย่างการสร้างทางวิ่งที่ 2 ของศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน , ระบบสาธารณูปโภคครบครันเพื่อรองรับการขยายตัวของสนามบิน รวมทั้งการเปิดพื้นที่ให้บริการใหม่ โดยรัฐจะมีการลงทุนเพื่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอู่ตะเภา ระยะ 1 กับ ศูนย์ขนส่งสินค้าทางอากาศ ระยะ 1 ร่วมกับบริษัท การบินไทย , ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบินระยะ 1 ร่วมกับสถาบันการบินพลเรือน

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโครงการ

ต้องการยกระดับให้เป็นสนามบินนานาชาติหลักแห่งที่ 3 ของประเทศไทยพร้อมดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษทางภาคตะวันออก พร้อมรองรับการขยายตัวของ EEC เชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารเข้ากับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ ตลอดจนกลายเป็น Aviation Hub แห่งสำคัญในภูมิภาค

การลงทุนสำคัญของสนามบินอู่ตะเภา

  • การก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 กว้าง 3.5 เมตร ยาว 60 เมตร เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2561 มีกำหนดการแล้วเสร็จภายใน 3 ปี เพิ่มการรองรับเที่ยวบินจาก 1 แสนเที่ยว/ปี ให้กลายเป็น 2.5 แสนเที่ยว/ปี
  • สร้างเขตปลอดอากรของสนามบิน
  • พื้นที่ตรงกลางบริเวณรันเวย์ 1 กับรันเวย์ 2 ขนาด 1.5 ตารางกิโลเมตร จะมีการสร้างเป็นอาคารพาณิชย์

โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน ก่อให้เกิดธุรกิจซ่อมอากาศยานแบบครบครัน อีกทั้งยังเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการจะทำให้ธุรกิจการบิน มีความต่อเนื่อง จนสามารถเติบโตกลายเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค