Train-

ระบบขนส่ง หรือ logisticsในปัจจุบันนี้นับเป็นอีก 1 ปัจจัยหนึ่งอันยกระดับความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าการลงทุนของแต่ละธุรกิจ เพราะ logistics จัดเป็นต้นทุนสำคัญอีกอย่างหนึ่งของผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะในภาคเกษตร,  อุตสาหกรรม หรือการบริการ  ยิ่งมีผลกระทบจากราคาน้ำมันซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญอันส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโลกแล้ว เพราะฉะนั้นการบริหารการจัดการด้าน logistics ให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ โดยแนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การลดเที่ยวเปล่า เป็นการบริหารส่งสินค้าแบบไปกลับ , การใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน , การใช้ระบบ GPS วางแผนเส้นทางเดินรถเพื่อไปทางที่เร็วที่สุด เป็นต้น  เพราะฉะนั้นการเลือกรูปแบบของการขนส่งไม่ว่าจะเป็น ทางบก, ทางน้ำ, ทางราง ควรเลือกให้เหมาะสมกับสินค้า ก็เป็นอีก 1 วิธีหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนทาง logistics ไปได้

การขนส่งทางรถไฟ  เริ่มขึ้นมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในสมัยรัชกาลที่ 5โดยการขนส่งทางรถไฟในประเทศไทยกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ.2429 เป็นการขนส่งจากกรุงเทพถึงสมุทรปราการ จำนวน 21 กิโลเมตร หลังจากนั้นในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 ได้มีการเปิดทางรถไฟระหว่างกรุงเทพ อยุธยา เป็นระยะทาง 71 กิโลเมตร และได้มีการเรียกขานวันนั้นว่าเป็น วันสถาปนากิจการรถไฟหลวง  อย่างเป็นทางการ  จึงทำให้ขนส่งสินค้าได้คราวละจำนวนมาก ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งมีราคาถูกกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่นๆ อีกทั้งยังทำให้เกิดมลพิษน้อยกว่าทางรถยนต์อีกด้วย สินค้าที่นิยมส่งส่วนมากจึงเป็นสินค้ามูลค่าต่ำแต่มีน้ำหนักมาก เช่น ปูนซีเมนต์ เป็นต้น

Train

ข้อเสียของการขนส่งโดยรถไฟ คือ ใช้เวลาในการขนส่งนาน อีกทั้งต้องมีการห่อบรรจุภัณฑ์อย่างดี สามารถทนต่อแรงกระแทกสูงๆ ได้ เนื่องจากต้องมีการขนถ่ายซ้ำ และสิ่งสำคัญที่สุดคือ มีข้อจำกัดทางด้านรางรถไฟ  นอกจากนี้รถไฟจะต้องให้ความสำคัญกับผู้โดยสารก่อนการขนส่งสินค้านั่นเอง

ทาง สศช. ได้มีการพัฒนาระบบ logistics ของประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี พ. ศ. 2548 หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาปรับปรุงเรื่อยมา จนมาถึงปี พ.ศ. 2552 พอเข้าสู่ พ.ศ. 2550 – 2554 ได้มีการกำหนดให้ประเทศไทยมีระบบ logistics ตามมาตรฐานสากล เพื่อผลักดันให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าของภูมิภาคอินโดจีน โดยพุ่งความสนใจไปที่การลดต้นทุน logistics เพิ่มระดับในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยบวกกับความน่าเชื่อถือในขั้นตอนการนำส่งสินค้าและบริการ มุ่งเน้นการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มฐานทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรม logistics แบบอุตสาหกรรมต่อเนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงตรงนี้นับเป็นจุดเปลี่ยนของระบบ logistics ของประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด